![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgF3gfZtn4L_BIYLMwU7rf2e0gkFONPIM_56tgsI_BAMiNxH0d-nHj2Z5BIyn60sKbMrFymey8dOW5I-KjU9p6b9Ekz9KLjF9dB3uoaKsFsMlpdhpr03bRS4ZoSCHFr7G6kMtH0_Wgx-hM/s320/benhursu2.jpg)
Ben-Hur ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1959 หรือปี พ.ศ. 2502 เป็นหนังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในยุคนั้น ที่ทำเงินรายได้มหาศาล พร้อมกับกวาดรางวัลออสการ์มากที่สุดถึง 11 รางวัล
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างให้ใครๆก็รู้จักโรคเรื้อน เพราะเพียงแค่เปิดคุกเพื่อที่จะเข้าไปดูแม่และน้องสาวของเบนเฮอร์ ทหารก็ร้องออกมาได้ทันทีว่าทั้งคู่เป็นโรคเรื้อนตั้งแต่แรกเห็นและสั่งให้ปล่อยออกมาโดยเร็ว หนำซ้ำยังสั่งให้เผาคุกเสียอีกด้วย
โรคเรื้อนถูกกล่าวถึงในแง่ของสังคมรังเกียจเพราะแม้แต่เงินที่เบนเฮอร์ให้ขอทาน เมื่อได้ยินว่าครอบครัวเบนเฮอร์เป็นโรคเรื้อน ขอทานก็โยนเศษสตางค์ทิ้งอย่างไม่เสียดาย ผู้คนในเมืองต่างปาก้อนหินใส่เพราะรังเกียจโรคเรื้อน หรือการที่แม่และน้องสาวต้องไปอยู่ในถ้ำของหุบเขาที่มีแต่คนเป็นโรคเรื้อนก็ตาม ต่างก็สะท้อนถึงการรังเกียจด้วยกันทั้งสิ้น
ขณะเดียวกันแม่และน้องสาวของเบนเฮอร์ก็รับรู้ได้ถึงความน่ารังเกียจในโรคที่ตนเป็นอยู่ ทำให้มีความหวาดกลัวและหลีกหนีสังคมไม่ต่างไปจากคนอื่นๆที่เป็น ดังที่แม่ของเบนเฮอร์พูดไว้ว่า “อยากให้เค้าจดจำชั้นเมื่อในอดีตมากกว่าตอนนี้” (เพราะทนไม่ได้กับสภาพที่ตนเผชิญอยู่)
ความรู้สึกของหนังในช่วงนี้ถ่ายทอดความรู้สึกวิตกกังวล หวาดกลัว และความเสียใจตลอดจนความละอายไม่กล้าสู้หน้าของแม่และน้องสาวได้ค่อนข้างดีทีเดียว เพราะไม่ต่างอะไรกับผู้ป่วยในชีวิตจริงที่เมื่อรู้ว่าตนเป็นโรคก็จะพยายามทำตัวออกห่างและไม่ใกล้ชิดกับคนที่ตนรักเช่นลูกอย่างเบนเฮอร์ เนื่องจากกลัวว่าจะติดโรคร้ายนี้ไปด้วย
ในฉากสุดท้าย ที่สร้างให้อาการป่วยด้วยโรคเรื้อนได้หายไปจากแม่และน้องสาวของเบนเฮอร์ในท่ามกลางสายฝนที่ตกหนักหลังจากพระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์ อาจจะเป็นการสื่อหรือแสดงสัญลักษณ์เพื่อจะบอกว่า เมื่อเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าหรือพระเยซูคริสต์แล้วทุกคนจะมีชีวิตอยู่อย่างสันติและปลอดภัย เพราะหากในโลกปัจจุบันสามารถทำให้โรคเรื้อนหายไปจากผู้ที่ป่วยได้จริงราวกับปาฏิหาริย์เหมือนหนังเรื่องนี้ได้ก็คงดีไม่น้อยเลยทีเดียว
โรคเรื้อนถูกกล่าวถึงในแง่ของสังคมรังเกียจเพราะแม้แต่เงินที่เบนเฮอร์ให้ขอทาน เมื่อได้ยินว่าครอบครัวเบนเฮอร์เป็นโรคเรื้อน ขอทานก็โยนเศษสตางค์ทิ้งอย่างไม่เสียดาย ผู้คนในเมืองต่างปาก้อนหินใส่เพราะรังเกียจโรคเรื้อน หรือการที่แม่และน้องสาวต้องไปอยู่ในถ้ำของหุบเขาที่มีแต่คนเป็นโรคเรื้อนก็ตาม ต่างก็สะท้อนถึงการรังเกียจด้วยกันทั้งสิ้น
ขณะเดียวกันแม่และน้องสาวของเบนเฮอร์ก็รับรู้ได้ถึงความน่ารังเกียจในโรคที่ตนเป็นอยู่ ทำให้มีความหวาดกลัวและหลีกหนีสังคมไม่ต่างไปจากคนอื่นๆที่เป็น ดังที่แม่ของเบนเฮอร์พูดไว้ว่า “อยากให้เค้าจดจำชั้นเมื่อในอดีตมากกว่าตอนนี้” (เพราะทนไม่ได้กับสภาพที่ตนเผชิญอยู่)
ความรู้สึกของหนังในช่วงนี้ถ่ายทอดความรู้สึกวิตกกังวล หวาดกลัว และความเสียใจตลอดจนความละอายไม่กล้าสู้หน้าของแม่และน้องสาวได้ค่อนข้างดีทีเดียว เพราะไม่ต่างอะไรกับผู้ป่วยในชีวิตจริงที่เมื่อรู้ว่าตนเป็นโรคก็จะพยายามทำตัวออกห่างและไม่ใกล้ชิดกับคนที่ตนรักเช่นลูกอย่างเบนเฮอร์ เนื่องจากกลัวว่าจะติดโรคร้ายนี้ไปด้วย
ในฉากสุดท้าย ที่สร้างให้อาการป่วยด้วยโรคเรื้อนได้หายไปจากแม่และน้องสาวของเบนเฮอร์ในท่ามกลางสายฝนที่ตกหนักหลังจากพระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์ อาจจะเป็นการสื่อหรือแสดงสัญลักษณ์เพื่อจะบอกว่า เมื่อเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าหรือพระเยซูคริสต์แล้วทุกคนจะมีชีวิตอยู่อย่างสันติและปลอดภัย เพราะหากในโลกปัจจุบันสามารถทำให้โรคเรื้อนหายไปจากผู้ที่ป่วยได้จริงราวกับปาฏิหาริย์เหมือนหนังเรื่องนี้ได้ก็คงดีไม่น้อยเลยทีเดียว
Molokai: The story of Father Damien เป็นหนังปี 1999(พ.ศ.2542) เรื่องราวของบาทหลวงที่มาจากชีวิตจริง ผู้ยอมเสียสละชีวิตในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อนที่เกาะ Molokai ของ Hawaii ในยุคที่โรคกำลังระบาด การกลัวการแพร่กระจายของโรคถึงกับมีกฎหมายที่จะป้องกันการแพร่เชื้อเหล่านี้โดยให้ผู้ป่วยทั้งหลายไปอยู่ในนิคมบนเกาะ การทุ่มทั้งแรงกาย ใจและจิตวิญญาณในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้และการไปบุกเบิกสิ่งต่างๆตั้งแต่ที่พักอาศัย การดูแลรักษาและอื่นๆตลอดระยะเวลา 16 ปีจนสุดท้ายได้ป่วยเป็นโรคเรื้อนและเสียชีวิตในเวลาต่อมาด้วยอายุเพียง 49 ปี (Father Damien หรือ Saint Damien เป็นชาว Belgium เกิดเมื่อ January 3, 1840 และเสียชีวิต April 15, 1889)![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg0F-wI1AolvCvM-_9zt8uSYAwoO6fEwvv0MxpzUysms1sDTaQ9x2AIJHVfWT5ty0Cj-ZY4ve540pkf40bLQ6sTxypQZt2kdk8_V2FxqqXaT6OjyvIIXNxxgVC5_m1eZlkPpSo4ZGi9Dg4/s320/Molokai.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg0F-wI1AolvCvM-_9zt8uSYAwoO6fEwvv0MxpzUysms1sDTaQ9x2AIJHVfWT5ty0Cj-ZY4ve540pkf40bLQ6sTxypQZt2kdk8_V2FxqqXaT6OjyvIIXNxxgVC5_m1eZlkPpSo4ZGi9Dg4/s320/Molokai.jpg)
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ฉายตัวแสดงให้เห็นถึงลักษณะของโรคเรื้อนได้ชัดเจนกว่าเรื่องใดๆ อันเนื่องมาจากหนังได้ใช้ผู้ป่วยโรคเรื้อนจริงๆมาแสดงปะปนอยู่ในนั้นด้วย จึงทำให้เห็นถึงสภาพความพิการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ นิ้วมือหดสั้น หรือแม้แต่จมูกยุบโดยอยู่ในยุคที่ยังไม่มีการรักษาที่ดีพอ แต่นั่นก็สะเทือนอารมณ์อย่างมากและอาจทำให้เกิดคำถามสำหรับคนดูได้ว่า ถ้าเป็นตัวเองแล้วจะยอมทำอย่าง Father Damienหรือไม่ ที่ยอมเสียสละตนเองไปใช้ชีวิตและคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคเรื้อนที่กำลังอยู่ในระยะแพร่เชื้อ เป็นเวลา นานขนาดนั้นโดยที่รู้อยู่เต็มอกว่าอาจจะติดโรคเรื้อนเข้าสักวัน
Damien ทำยิ่งกว่าหน้าที่แต่เค้ามีจิตวิญญาณที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาและน้ำใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้เจ็บป่วยและยากไร้เหล่านั้น บาทหลวงที่มาส่ง Damienทีท่าเรือ บอกและย้ำกับเค้าว่า เมื่อไปถึงที่นู่นอย่าได้แตะต้องผู้ป่วยเป็นอันขาด แต่ในความเป็นจริงแล้ว Damien จะให้การดูแลโดยปราศจากการแตะต้องและสัมผัสได้อย่างไร ความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์และจิตวิญญาณที่ทุ่มเทเหล่านี้ Damien ได้แรงบันดาลใจมาจากพี่สาวของเค้าตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก เค้าจึงอยากที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้กับคนอื่นๆบ้าง
Damien ได้ใจจากผู้ป่วยทั้งหลายเพราะการช่วยเหลือที่มีจิตวิญญาณ การแสดงให้เห็นว่าเค้าเข้าใจจิตใจผู้ป่วยเหล่านั้นและการแสดงออกของความเป็นพวกเดียวกันอย่างสนิทใจ ฉากที่ป้อนยาให้กับเด็กโดยใช้ช้อนเดียวกับเด็กที่ป่วยเพื่อกินยาให้เด็กที่ไม่ยอมกินดูเป็นตัวอย่าง เป็นเรื่องที่ได้ใจพอดู เพราะหมอที่เป็นเพื่อน Damien ถึงกับนิ่งไปพร้อมกับคำถามในใจว่า Damien ไม่กลัวที่จะติดโรคจากผู้ป่วยเหล่านี้หรือไร หรือแม่แต่การเข้าไปกอด สัมผัสผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีความพิการมาก สภาพที่ไม่น่าดูและอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตก็ตาม ในขณะที่หมอคนอื่นๆถึงกับถอดใจเดินถอยห่างจากผู้ป่วยเหล่านั้น
ฉากสำคัญอีกฉากหนึ่ง คือตอนที่ Damien เริ่มสงสัยว่าตนเองเป็นโรคเรื้อน จึงอาศัยเพื่อนที่เป็นหมอให้ช่วยดูรอยโรคที่เกิดขึ้นที่หน้าอกและทดสอบความรู้สึกที่บริเวณเท้า......จากจุดนี้ Damien เองถึงกับตกใจและสีหน้าหยุดนิ่งไปชั่วขณะหนึ่ง เมื่อในใจเริ่มสัมผัสและรับรู้ได้ว่าตนเองเป็นโรคเรื้อนเข้าแล้ว จากนั้น Damien ก็รีบเร่งดำเนินโครงการต่างๆเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเหล่านี้ไว้สำหรับเวลาหลังจากที่เค้าจะจากไป จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตมาถึง
Damien ทำยิ่งกว่าหน้าที่แต่เค้ามีจิตวิญญาณที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาและน้ำใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้เจ็บป่วยและยากไร้เหล่านั้น บาทหลวงที่มาส่ง Damienทีท่าเรือ บอกและย้ำกับเค้าว่า เมื่อไปถึงที่นู่นอย่าได้แตะต้องผู้ป่วยเป็นอันขาด แต่ในความเป็นจริงแล้ว Damien จะให้การดูแลโดยปราศจากการแตะต้องและสัมผัสได้อย่างไร ความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์และจิตวิญญาณที่ทุ่มเทเหล่านี้ Damien ได้แรงบันดาลใจมาจากพี่สาวของเค้าตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก เค้าจึงอยากที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้กับคนอื่นๆบ้าง
Damien ได้ใจจากผู้ป่วยทั้งหลายเพราะการช่วยเหลือที่มีจิตวิญญาณ การแสดงให้เห็นว่าเค้าเข้าใจจิตใจผู้ป่วยเหล่านั้นและการแสดงออกของความเป็นพวกเดียวกันอย่างสนิทใจ ฉากที่ป้อนยาให้กับเด็กโดยใช้ช้อนเดียวกับเด็กที่ป่วยเพื่อกินยาให้เด็กที่ไม่ยอมกินดูเป็นตัวอย่าง เป็นเรื่องที่ได้ใจพอดู เพราะหมอที่เป็นเพื่อน Damien ถึงกับนิ่งไปพร้อมกับคำถามในใจว่า Damien ไม่กลัวที่จะติดโรคจากผู้ป่วยเหล่านี้หรือไร หรือแม่แต่การเข้าไปกอด สัมผัสผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีความพิการมาก สภาพที่ไม่น่าดูและอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตก็ตาม ในขณะที่หมอคนอื่นๆถึงกับถอดใจเดินถอยห่างจากผู้ป่วยเหล่านั้น
ฉากสำคัญอีกฉากหนึ่ง คือตอนที่ Damien เริ่มสงสัยว่าตนเองเป็นโรคเรื้อน จึงอาศัยเพื่อนที่เป็นหมอให้ช่วยดูรอยโรคที่เกิดขึ้นที่หน้าอกและทดสอบความรู้สึกที่บริเวณเท้า......จากจุดนี้ Damien เองถึงกับตกใจและสีหน้าหยุดนิ่งไปชั่วขณะหนึ่ง เมื่อในใจเริ่มสัมผัสและรับรู้ได้ว่าตนเองเป็นโรคเรื้อนเข้าแล้ว จากนั้น Damien ก็รีบเร่งดำเนินโครงการต่างๆเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเหล่านี้ไว้สำหรับเวลาหลังจากที่เค้าจะจากไป จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตมาถึง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiQqh5EglNVpHNt0DuKQmvIe1oLDn9um1N0CqjkAKiC9-7bnk_Fb-SsreNz6WGDYC52A-coihYoAwbq3EYihyphenhyphenQYRFaPLu7PGiFCAvR1oK8uAVlDFcv5d6dxFCFcN8UKyPB1ko6NuzQMUVM/s320/asdf83ki4s.jpg)
มิตร ชัยบัญชา พระเอกยอดนิยมในยุคนั้น ถูกมอบหมายให้เล่นเป็น 2 บทบาท บทหนึ่งคือพ่อที่เป็นใบ้ ที่มีฐานะยากจนสุดๆ อีกบทหนึ่งเล่นเป็นลูกชายหนุ่มนักเรียนนอก(ยิ่งยง)เป็นพระเอกของเรื่องซึ่งในยุคนี้บทยังไม่ได้ให้เป็นโรคเรื้อน ที่เป็นโรคเรื้อนนั้นคือบานเย็นซึ่งเป็นแม่เท่านั้น
ต่อมา ภาพยนตร์นี้ได้ถูกนำมาทำซ้ำโดยเปลี่ยนผู้แสดงอีกครั้งหนึ่งในปี 2524 ซึ่งในครั้งนี้ คุณเนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ รับบทเป็นไทรงาม นางเอกของเรื่อง และยังมีนักแสดงนำท่านอื่นๆได้แก่ พอเจตน์ แก่นเพชร และดวงใจ หทัยกาญจน์ ที่สำคัญข้อมูลจากแหล่งหนึ่งได้พูดถึงฟิล์มภาพยนตร์ไทยเรื่อง “ไทรโศก” ฉบับนี้ว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้อำนวยการสร้าง สมัยที่ยังทำธุรกิจค้าภาพยนตร์ด้วย
ในปี 2534 ไทรโศก มีบิณฑ์ บันลือฤทธิ์เป็นดารานำ ในละครช่อง 7 ถ่ายทำแต่แล้วก็หายเงียบ ไปไม่ได้ออกอากาศ ละครฉบับนี้นำแสดงโดย ชไมพร จตุรภุช รับบท บานเย็น พิศมัย วิไลศักดิ์ รับบท คุณหญิง ชุติมา นัยนา รับบท อุษา
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi5MgsfPyrrrwkFFkRAjdpnIdoxHxl1XHJbaMf8JuiZW5p4AHIGQYPnXlXqoTYxWTDi7mTGF5GTGRUXfqzfr6Rl6oCBTraLYnYilPDRSX2cIoocCOC5JYhJ2e8eN-YfrqUeDCnRxcqB9io/s320/untitled.bmp)
ในขณะที่ต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำกลับมาทำเป็นละครโทรทัศน์ในปี 2553 ทางช่อง 3 นำแสดงโดย โฬม - พัชฏะ นามปาน รับบทเป็นยิ่งยง จ๊ะ – จิตตาภา แจ่มปฐม รับบทเป็นไทรงาม กวาง – กมลชนก รับบท บานเย็น
นวนิยายเรื่อง ‘ไทรโศก’ บทประพันธ์ของจำลักษณ์ เป็นเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดมาช้านาน จากบทประพันธ์ตั้งเดิมที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์จนถึงบทละครโทรทัศน์ในปัจจุบัน ที่สะท้อนภาพครอบครัว สังคมและความอยากได้ไคร่มี ความโลภตามธรรมดาของมนุษย์รวมไปถึงการแบ่งชนชั้นที่เห็นได้บ่อยในนวนิยายไทย แต่ที่ต่างออกไปนั้นคงเป็นเรื่องของบทละครที่นำเอาโรคเรื้อนเข้ามาผูกเรื่องไว้กับตัวละครเอก ให้เป็นจุดตอกย้ำถึงความต่ำต้อยและความรังเกียจที่มีอยู่ และเกิดขึ้นได้จริงตามอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ปุถุชน แต่กระนั้น สุดท้ายบทละครไทรโศกในยุคนี้ก็ยังได้พยายามที่จะสื่อให้เห็นว่า โรคเรื้อนนั้นสามารถรักษาหายและอยู่ร่วมได้กับคนในครอบครัวและสังคมไม่ต่างไปจากคนปกติ
หากมาดูกันถึงบทละครเรื่องนี้ว่ากล่าวถึงโรคเรื้อนไว้ว่าอย่างไรบ้าง ไทรโศกในตอนต้นของเรื่อง ได้เปิดฉากจากการให้ตัวละครเอก – บานเย็น เริ่มสังเกตได้ถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายตนเอง แต่กระนั้นอาการเริ่มแรกนี้ก็ไม่มีผลกระทบมากพอที่จะทำให้บานเย็นสนใจต่อไป มากกว่าการที่รู้ว่าตนกำลังจะได้แต่งงานกับคนที่พึงพอใจ
“ บานเย็นเข้ามาในห้องอย่างสุขใจ เธอเหลือบเห็นรอยผื่นแดงที่มือข้างขวาของตัวเอง หญิงสาวพยายามมองว่าคือผื่นอะไร แต่แล้วความในใจใคร่รู้ก็หายไป เมื่อเสียงเคาะประตูดังขึ้น”
อาการเริ่มแรกของโรคเรื้อนนี้ ในความเป็นจริงก็จะพบว่ามีผู้ป่วยหลายรายอาจจะสังเกตเห็นแต่ก็ไม่ได้ทำอะไรต่อไป เพราะรอยโรคเหล่านั้นยังไม่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนัก จึงมักปล่อยให้มีอาการเป็นมากขึ้น และยิ่งหากเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ยากต่อการสังเกตเห็นของคนอื่นๆด้วยแล้วผู้ป่วยก็จะไม่สนใจเท่าใดนัก แต่หากเกิดขึ้นที่ใบหน้ากลับจะได้รับความสนใจที่มากขึ้นเพราะมักส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ด้านความสวยงาม
แม้คนรอบข้างจะสังเกตเห็นอาการผิดปกติที่เป็นอาการเริ่มแรกของโรคเรื้อน แต่การขาดความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อนก็อาจทำให้การไปรับการรักษาที่ถูกต้องนั้นยืดระยะเวลาออกไป ซึ่งไทรโศกในฉบับของมิตร ชัยบัญชานั้น โรคเรื้อนไม่ได้ถูกเอามานำเสนอมากไปกว่าการเป็นสัญลักษณ์ของความน่ารังเกียจและต่ำต้อย ซึ่งต่างไปจากฉบับปัจจุบันที่สามารถนำโรคเรื้อนมานำเสนอได้มากกว่าอาจเนื่องด้วยเพราะเป็นละครโทรทัศน์ที่มีระยะเวลาในการฉายมากกว่า จึงมีการปรับปรุงบทเพิ่มเติมให้แลดูมีสีสันที่พระเอกของเรื่อง(ยิ่งยง) ต้องมาเป็นโรคเรื้อนเพิ่มเติมจากต้นฉบับอีกตัวละครหนึ่ง ที่น่าสังเกตคือในยุคมิตร ชัยบัญชา สามารถเห็นรอยโรคที่ใบหน้าของบานเย็นได้ แต่ฉบับนี้หน้าตาของบานเย็นดูเกลี้ยงเกลา สดใสทีเดียว นั่นอาจเป็นเพราะผู้เขียนเปลี่ยนแปลงบทมานำเสนอให้บานเย็นมีรอยผื่นขึ้นที่มือ แขน ขาและหลังซึ่งอยู่ในบริเวณที่หลบซ่อนแทน เพราะอาจไม่ต้องการนำเสนอภาพลักษณ์ที่ไม่น่าดูก็เป็นได้
แม้คนรอบข้างจะสังเกตเห็นอาการผิดปกติที่เป็นอาการเริ่มแรกของโรคเรื้อน แต่การขาดความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อนก็อาจทำให้การไปรับการรักษาที่ถูกต้องนั้นยืดระยะเวลาออกไป ซึ่งไทรโศกในฉบับของมิตร ชัยบัญชานั้น โรคเรื้อนไม่ได้ถูกเอามานำเสนอมากไปกว่าการเป็นสัญลักษณ์ของความน่ารังเกียจและต่ำต้อย ซึ่งต่างไปจากฉบับปัจจุบันที่สามารถนำโรคเรื้อนมานำเสนอได้มากกว่าอาจเนื่องด้วยเพราะเป็นละครโทรทัศน์ที่มีระยะเวลาในการฉายมากกว่า จึงมีการปรับปรุงบทเพิ่มเติมให้แลดูมีสีสันที่พระเอกของเรื่อง(ยิ่งยง) ต้องมาเป็นโรคเรื้อนเพิ่มเติมจากต้นฉบับอีกตัวละครหนึ่ง ที่น่าสังเกตคือในยุคมิตร ชัยบัญชา สามารถเห็นรอยโรคที่ใบหน้าของบานเย็นได้ แต่ฉบับนี้หน้าตาของบานเย็นดูเกลี้ยงเกลา สดใสทีเดียว นั่นอาจเป็นเพราะผู้เขียนเปลี่ยนแปลงบทมานำเสนอให้บานเย็นมีรอยผื่นขึ้นที่มือ แขน ขาและหลังซึ่งอยู่ในบริเวณที่หลบซ่อนแทน เพราะอาจไม่ต้องการนำเสนอภาพลักษณ์ที่ไม่น่าดูก็เป็นได้
“ นี่ไปแพ้อะไรมาล่ะเย็น มือถึงได้ขึ้นผื่นเป็นปื้นอย่างนี้ ช่างเถอะ....เดี๋ยวไปขัดขมิ้นสักครั้งสองครั้งก็หาย”
การขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเรื้อนนำมาซึ่งความรู้สึกรังเกียจ เพราะหลายคนคิดไปว่าคนเป็นโรคเรื้อนจะมีรูปลักษณ์ที่ไม่น่าดูอันเนื่องมาจากความพิการ แต่ความจริงแล้วหากสังเกตอาการเริ่มแรกของตนเองและรีบไปรับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ที่ได้รับเชื้อโรคเรื้อนก็จะไม่ต่างอะไรไปจากคนอื่นๆทั่วไป หลายคนยังคงดำรงชีวิตได้เป็นปกติสุขและไม่มีความพิการที่น่ากลัวให้เห็น ความรู้สึกกลัวและรังเกียจโรคนี้เห็นได้จากหลายๆตอนในละครเรื่องนี้ เช่น
“คุณหญิงตวัดหางตาขึ้นมามองบานเย็น แล้วขยับตัวห่างหญิงสาวอย่างมีชั้นเชิงก่อนถามว่าใครเป็นคนทำอาหาร” หรือ คุณหญิงเหมือนจะรู้ก็ตวาดกลับ..... “เอ็งไม่ต้องมาไล่ข้านังหวิน คิดว่าข้าอยากจะอยู่ที่นี่นักหรือ สกปรกโสโครกมีแต่เชื้อโรค รักกันไว้ให้ดีเถอะ....ระวังโรคเรื้อนจะกินกบาลกันทั้งบ้าน”
ความรู้สึกว่าคนอื่นรังเกียจตนเอง อันเนื่องมาจากการเป็นโรคเรื้อน ก็ถูกนำมาถ่ายทอดไม่น้อยไปกว่าความรังเกียจที่มาจากคนอื่นๆ
“ ไม่ต้องมาถูกเนื้อต้องตัวฉัน แล้วก็ไม่ต้องคิดหวังดีกับฉันอีก นายไม่ได้ยินที่คุณหญิงพูดหรือว่าฉันเป็นโรคเรื้อน นายไม่เคยเห็นใช่มั้ยว่ามันน่ารังเกียจขนาดไหน ถ้าอย่างนั้นก็ดูเสียให้เต็มตา” หรือ “คงไม่มีใครที่ไหนอยากจะเข้าใกล้คนที่เป็นโรคเรื้อนน่ารังเกียจ น่าขยะแขยงนักหรอก” ยิ่งยงพูด
แต่กระนั้น คนเป็นโรคเรื้อนก็ไม่ได้โชคร้ายหรือประสบปัญหาไปซะทุกคน หลายคนก็ยังมีคนรอบข้างที่เข้าใจและคอยให้กำลังใจซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนป่วยด้วยโรคนี้มีความมั่นใจและความเชื่อมั่นในตนเองที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมนี้ต่อไปได้
“ เราสองคนไม่เคยคิดรังเกียจหนูเย็นเลยนะจ๊ะ อย่าให้ถึงขนาดต้องขังตัวเองไม่พูดไม่จากับใครเลยพี่หวินขอร้องล่ะนะ”
“โรคนี้มันไม่ได้รุนแรงอย่างที่คุณคิดนะ แล้วตอนนี้เราก็รักษาให้หายขาดได้ ฉันทั้งเห็นทั้งสัมผัสโอบกอดคนที่เป็นโรคนี้มากว่ายี่สิบปีและฉันก็ไม่เคยคิดรังเกียจเขาแม้แต่เสี้ยววินาที รู้อย่างนี้แล้วคุณยังคิดว่าฉันจะรังเกียจคนที่เพิ่งเป็นโรคนี้อย่างคุณอยู่รึเปล่า”
บทละครเรื่องนี้มีสิ่งหนึ่งที่ยังสื่อให้เข้าใจผิดนั่นคือ การกล่าวถึงว่าโรคเรื้อนเป็นโรคที่ติดต่อทางกรรมพันธุ์ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว โรคเรื้อนนั้นติดต่อกันได้จากการคลุกคลีและใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้ที่มีเชื้อโรคเรื้อนซึ่งอยู่ในระยะติดต่อและยังไม่ได้รับการรักษา
“คุณอู๊ดเป็นโรคเรื้อน งามเพิ่งตรวจพบเมื่อเช้านี้เอง พี่ดำก็รู้ว่าโรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ คุณอู๊ดเป็นโรคเรื้อนแบบเดียวกับที่แม่เย็นเป็น”
จากความเข้าใจผิด ดังนั้นในบทละครนี้ ยิ่งยงจึงถูกเขียนบทให้เป็นโรคเรื้อนด้วยอีกคน เพราะว่าเป็นลูกของบานเย็น (ตามความเชื่อว่าโรคเรื้อนนี้ติดต่อทางกรรมพันธุ์) แต่หากดูตามเนื้อเรื่องผนวกกับตามหลักวิชาการแล้ว ยิ่งยงถูกแยกออกจากแม่หลังจากที่คลอดออกมาไม่นาน ซึ่งคุณหญิงเป็นคนนำไปเลี้ยงดูต่อไป คนที่น่าจะติดโรคจากบานเย็นนั้นควรจะเป็น หวิน เพิ่ม ดำ หรือคนอื่นๆที่คลุกคลีและอยู่กับบานเย็นมาโดยตลอดก่อนที่จะมาได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
แต่ก็ยังดี ที่ละครเรื่องนี้ไม่ได้ให้ตัวละครป่วยด้วยโรคเรื้อนจนถึงขั้นพิกลพิการเหมือนในผู้ป่วยยุคแรกๆที่การรักษายังไม่ดีนักเมื่อตอนหลายสิบปีก่อน แต่ให้ตัวละครเอกอย่างยิ่งยงป่วยเป็นเพียงโรคเรื้อนชนิดเชื้อน้อยซึ่งใช้เวลาในการกินยาเพื่อรักษาให้หายได้ในเวลา 6 เดือน ซึ่งสอดคล้องกับการรักษาในปัจจุบันว่า โรคเรื้อนสามารถรักษาให้หายได้และไม่พิการหากรีบมารับการรักษาตั้งแต่มีอาการเริ่มต้นและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
“เรื่องผื่นที่มาให้ตรวจใช่มั้ยคะ คุณอู๊ดไม่ต้องกังวลใจหรอกนะคะแค่รับประทานยาที่ดิฉันให้ไปจนหมดและมารับยาเพิ่มทุกเดือน ไปจนครบ 6 เดือน ก็จะไม่มีผื่นแบบนั้นขึ้นอีกค่ะ สบายใจได้”
ในอนาคตไม่รู้ว่าจะมีผู้กำกับคนใด ที่จะสนใจสร้างภาพยนตร์หรือละครที่เกี่ยวพันกับโรคเรื้อนในสภาพหรือสถานการณ์ปัจจุบันอีกบ้างหรือไม่ ก็คงต้องติดตามรอดูกันต่อไป